6 โรคมากับหน้าฝนที่ลูกน้อยควรระวัง
1. โรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่
หรือ Influenza
เป็นโรคที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น
แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาด ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ
ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยเด็กที่มีอาการตัวร้อนมา
2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่นั้นแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาตรงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการ : เด็ก ๆ จะมีไข้ ปวดหัว
ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ไอหรือเจ็บคอ ซึ่งเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ
ผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสเสี่ยงและมีอาการรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น
วิธีป้องกัน : ทุก ๆ ปีคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูก ๆ
ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนฤดูกาลระบาด
ซึ่งการฉีดวัคซีนนั้นสามารฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
นอกจากนี้ควรฝึกให้เด็ก ๆ ล้างมือก่อนทานอาหาร และหลังจากออกไปเล่นทุกครั้ง
ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะเพื่อเป็นการป้องกันโรค รวมทั้งหากเด็ก ๆ
เกิดมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็ก ๆ
ใส่หน้ากากป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
รวมถึงเพื่อไม่ให้รับเชื้อโรคเพิ่มขึ้นในขณะที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ
2. โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มี
“ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯ
หรือต่างจังหวัด เป็นโรคอันตรายที่อาจนำไปสู่อาการช็อก และเสียชีวิตได้
อาการ : มีไข้สูงมาก
กินยาลดไข้เท่าไหร่อาการไข้ก็ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง เด็ก ๆ มีอาการปวดหัว
ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีอาการหน้าแดง ตาแดง ปากแดง อ่อนเพลีย
โดยเฉพาะอาการไข้จะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไปและอาจมีอาการปวดท้อง
และอาเจียนร่วมด้วย
วิธีป้องกัน : พยายามอย่าให้ลูก ๆ ถูกยุงกัด
และอย่าให้มีการเกิดของยุงภายในบริเวณบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงตามแหล่งน้ำขังต่าง ๆ
จะต้องกำจัดให้หมด อย่ารอให้อารรุนแรงแล้วค่อยมาพบแพทย์
อย่าให้ยุงกัดและอย่าให้ยุงเกิด
ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดสิ้น
และอย่ารอให้เกิดอาการที่รุนแรงก่อนแล้วจึงมาพบแพทย์ เช่น เป็นไข้สูงเกินไป ช็อก
หรือมีปัญหาเลือดออกง่าย ต้องรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที
3. โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัส
(Enterovirus
71, Coxsackie) ซึ่งพบได้ตลอดทั้งปี
แต่จะพบมากในฤดูฝน หากเป็นแล้วเด็กบางคนอาจจะรับประทานอาหารและน้ำไม่ค่อยได้ เนื่องจากมีอาการเจ็บปากมาก
ซึ่งแม้แต่น้ำลายก็ไม่ยอมกลืน ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้นต้องระวังอย่าให้เด็ก ๆ มีไข้สูงเกินไป
เพราะอาจจะชักได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการ
เมื่อผิดปกติต้องรีบพาพบแพทย์ทันที
อาการ : เด็ก ๆ จะมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ
ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขาและก้นร่วมด้วย
พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี (อนุบาลถึงประถม) อาการมักหายได้เองภายใน 3-10
วัน สามารถติดต่อทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ
วิธีป้องกัน : คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ
หากไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูก ๆ อยู่ในสถานที่แออัด การพกแก้วน้ำ
หรือกระติกน้ำส่วนตัวเป็นทางเลือกที่ดี ปลูกฝังให้ลูก ๆ รู้จักที่จะใช้ช้อนกลางขณะรับประทานอาหารไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม
เพื่อป้องกันการสัมผัส รับเชื้อ และแพร่เชื้อไปยังเด็ก ๆ คนอื่น
4. โรคไอพีดีและปอดบวม
โรคไอพีดี
หรือที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease (IPD) คือ โรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส”
ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง
ซึ่งมีความรุนแรงและอาจทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้
โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี นอกจากนี้เชื้อ “นิวโมคอคคัส”
ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบได้อีกด้วย
ซึ่งจากข้อมูลการประเมินขององค์กรอนามัยโลกและยูนิเซฟพบว่า
ปอดบวมเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับ 1 ของโลก
โดยมีเด็กที่เสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 2 ล้านคนต่อปี
อาการ : หากติดเชื้อที่ระบบประสาท
เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง
เด็กเล็กจะมีอาการงอแง ซึม และชักได้ ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง
งอแง ถ้ารุนแรงอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ดีถ้ามีอาการดังกล่าวคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกัน : มีวัคซีนฉีดให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
ส่วนในเด็กทารกควรเริ่มฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือนขึ้นไป และฉีดเข็มต่อไปเมื่ออายุได้
4 เดือน 6 เดือน และ 12-15 เดือน โดยเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5
ปีที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
วัคซีนจึงมีส่วนสำคัญสำหรับการป้องกัน ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
และสร้างสุขอนามัยที่ดีกับลูก เป็นตัวช่วยที่สำคัญที่สุด
5. โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง
โรคท้องเสียเกิดขึ้นเพราะลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรต้าไวรัส
ซึ่งมาจากของเล่น อาหาร หรือของใช้ใกล้ตัวเด็กที่ไม่สะอาด
โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่เข้าใจเรื่องของสุขอนามัย
จึงมักนำของเล่น หรือของใช้ที่มีเชื้อนี้เข้าปากโดยไม่รู้ตัว มีการศึกษาวิจัยพบว่า
ในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ขวบแทบทุกคนจะเคยติดเชื้อนี้มาแล้ว ไวรัสโรต้าเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า
2 ปี โดยจากสถิติทั่วโลกและในประเทศไทยพบว่า
ไวรัสโรต้าเป็นสาเหตุหลักทำให้เด็กป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วงถึงปีละประมาณ
6 แสนคน
อาการ : ท้องเสีย
อาเจียน บางรายจะมีไข้สูง กินได้น้อย งอแง ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
ดังนั้นเด็กทารกควรให้กินนมแม่จะช่วยได้ระดับหนึ่ง และดูแลสุขลักษณะการกิน
การเล่นให้เหมาะสม ต้องสะอาด
วิธีป้องกัน :
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันซึ่งได้รับอนุมัติใช้ทั้งหมด 2 ชนิด คือ
วัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อโรต้า 1 สายพันธุ์ และ 5 สายพันธุ์
เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน (หยอด) สามารถเริ่มให้กับทารกอายุตั้งแต่ 6-12 สัปดาห์ เพราะในช่วงสัปดาห์แรก
ๆ เด็กทารกจะยังได้รับภูมิคุ้มกันที่สร้างจากรกและการกินนมแม่ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรต้าจึงควรเริ่มต้นในช่วงอายุประมาณ
2 เดือน เพราะเด็กเริ่มมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้ว
6. โรคอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใสเป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดขึ้นบ่อย
แต่มักจะเป็นกันบางช่วง สามารถติดต่อกันได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน
สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาการ : มีไข้
เป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้น อาจเริ่มจากบริเวณท้อง และ ลามไปตามต้นแขน ขา
และใบหน้า หลังจากนั้นจะค่อย ๆ กลายเป็นสะเก็ดและแผลเป็น
เป็นโรคที่สามารถหายได้เองประมาณ 2-3 สัปดาห์
วิธีป้องกัน : ต้องหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ความรุนแรงของอาการตุ่มที่ขึ้นนั้นจะอยู่ที่ภาวะของร่างกายด้วย
คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังไม่ให้ลูก ๆ เข้าใกล้ผู้ป่วย ล้างมือบ่อย ๆ หากลูก ๆ
เกิดอาการโรคอีสุกอีใสแล้วควรหยุดเรียน เพื่อแยกออกจากเพื่อน ๆ
รวมถึงภายในบ้านเองก็ควรแยกให้ลูกอยู่ห่างจากคนในครอบครัว
เพราะโรคนี้สามารถติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป
และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 ขวบ
แต่วัคซีนนี้เป็นวัคซีนเสริมที่ไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานที่เด็กทุกคนต้องฉีด
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดต้องการให้ลูก ๆ
ฉีดไว้เพื่อป้องกันสามารถติดต่อได้ตามโรงพยาบาลทั่วไป
เด็ก
ๆ มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่างกายยังน้อยอยู่
รวมถึงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การนำสิ่งของเข้าปาก
การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร
ทำให้มีสุขอนามัยที่ไม่ดีซึ่งส่งผลให้เกิดโคต่าง ๆ โดยเฉพาะในหน้าฝน
ซึ่งเป็นฤดูที่อากาศอบอ้าวสลับกับเชื้อโรคที่มากับฝน ยุง และความไม่สะอาดรอบ ๆ ตัว
ยิ่งทำให้ฤดูนี้มีการป่วยของเด็ก ๆ มากขึ้น
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของลูก
ๆ หากมีอาการไข้ กินอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย มีปัญหาเรื่องการไอ หายใจเร็ว
หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรค
และรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันความรุนแรงขอโรคเพื่อให้โอกาสรักษาหายมีแนวโน้มสูงขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์
- โรงพยาบาลบางปะกอก
3